
ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณผู้อ่านทุกคนมาก
ที่มีจดหมายมาหาผม และบอกให้ทราบว่าบทความของผมนั้นสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และรายได้ของเขาเพียงไร การเขียนบทความ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องย้ำเตือนว่า การเขียนบทความได้เงิน นั้น คุณสามารถทำได้จริง! แต่เนื่องจากยังมีผู้คนอีกมากมายที่ประสงค์จะเขียนบทความให้ได้เงิน แต่อาจต้องการเติมเทคนิคบางประการลงไป เพื่อให้สามารหาเงินได้จริง
ดังนั้น บก.จึงอยากแบ่งปันเทคนิคการเขียนบทความได้เงิน โดยเป็นการทำเงินได้ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าคุณลองนำหลักการเหล่านี้ไปใช้อย่างจริงจัง มาดูกันครับว่าเทคนิคการเขียนบทความได้เงิน ในแบบฉบับของผมนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 1 เขียนบทความตัวอย่างขึ้นมาก่อน
ขั้นตอนแรกที่เราต้องลงมือทำคือ การเขียนบทความ จงเขียนบทความตัวอย่างขึ้นมาก่อน บทความตัวอย่าง เราจะใช้ในการส่งให้กับลูกค้าดู เพื่อให้ลูกค้าเห็น แนวทางการเขียนบทความของเรา สำนวนภาษา การใช้คำ หลักการทาง SEO ที่บรรจุลงไปในบทความ และหลอมรวมออกมากลายเป็นบทความคุณภาพในแบบฉบับของเรา ดังนั้น หากคุณขาดสิ่งนี้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นเขียนบทความที่ไม่ถูกต้องครับ ลองมาดูสิ่งที่ลูกค้าต้องการเห็นจากบทความตัวอย่าง
สิ่งที่ลูกค้าต้องการเห็นในบทความตัวอย่าง มีดังนี้
- 1.1 สำนวนภาษาที่สละสลวย ไม่ใช้คำซ้ำ คำฟุ่มเฟือย
- 1.2 การแบ่งวรรคตอนที่สวยงาม น่าอ่าน น่านำไปใช้งาน
- 1.3 หลักการ SEO มีการใส่ Keyword ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
วิธีการเขียนบทความตัวอย่าง
1.1 เลือกหัวข้อที่เป็นที่นิยมมาก่อน
ข้อแรกให้เราเลือกหัวข้อหรือหมวดที่เป็นที่นิยมในตลาดออกมาก่อน การเขียนบทความ ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าจะเลือกหมวดไหนดี อย่างนั้น บก.ขอแนะนำหมวดดังต่อไปนี้นะครับ
- หมวดธุรกิจออนไลน์ : ขายตรง, SMEs, ธุรกิจเครือข่าย, การตลาด
- หมวดเครื่องสำอาง : การเลือกใช้, เทรนด์การแต่งกาย
- หมวดสุขภาพ : การดูแลสุขภาพ, แนวทางการรักษาโรค เป็นต้น
ทั้ง 3 หมวดข้างต้น มีการจ้างเขียนบทความในตลาดค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่เราจะเขียนขึ้นมาเป็นตัวอย่างเสียก่อน แต่ถ้าคุณมีบทความ หรือหมวดที่ต้องการเขียนในใจอยู่แล้ว ก็สามารถเขียนได้เองเลยครับ แนวทางข้างต้นเป็นอย่างของ บก.เท่านั้น
1.2 เขียนบทความที่มีจำนวนคำแตกต่างกัน
บทความที่เขียน จะต้องมีจำนวนคำรวมที่แตกต่างกัน โดย บก.ขอแนะนำจำนวนคำที่ควรเขียนดังนี้คือ 300 คำไทย, 500 คำไทย, 750 คำไทย, 1500 คำไทย จำนวนคำที่กล่าวถึงนี้มีการจ้างงานกันมากที่สุด โดยเฉพาะขนาด 300-500 คำไทย ถ้าเราเขียนตัวอย่างคำไว้แบบนี้ จะเป็นการง่ายที่ลูกค้าจะเลือกใช้บริการเขียนบทความของเรา
1.3 เขียนบทความจำนวน 4 บทความ
จำนวนบทความที่ต้องการใช้เป็นตัวอย่าง ควรมีอย่างน้อย 4 บทความ และทำการ Convert File ให้เป็นแบบ PDF เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปิดอ่านได้อย่างง่ายดาย บก.ไม่แนะนำให้คุณส่งเป็นไฟล์ Word ให้กับลูกค้า เพราะนั่นเท่ากับว่า ทั้งคุณและลูกค้าอาจเกิดความไม่สบายใจกันในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ของผลงานที่อาจมีการดัดแปลงกัน
1.4 อย่านำบทความเก่าของลูกค้าคนก่อนมาเป็นตัวอย่างเด็ดขาด
ลูกค้าของคุณคงไม่สบายใจอย่างยิ่ง หากพบว่าคุณนำบทความของลูกค้าคนก่อนๆมาเป็นตัวอย่างงาน เพราะบางทีแล้ว ลูกค้าของคุณคนนั้นอาจประกอบธุรกิจแข่งขันกัน ซึ่งการเปิดเผยบทความเท่ากับว่า เป็นการเปิดเผยความลับทางธุรกิจกันเลยทีเดียว!
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำข้อมูลไฟล์ตัวอย่างให้เรียบร้อยสวยงาม
หลังจากขั้นตอนที่ 1 เสร็จสิัน ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดทำข้อมูลไฟล์ การเขียนบทความให้เรียบร้อยสวยงาม บก.มักเรียกส่วนนี้ว่า การใส่หัวกระดาษ บางทีแล้ว คุณไม่จำเป็นสต้องทำขนาดนี้ก็ได้ แต่เพื่อความเป็นมืออาชีพในการเขียนบทความ คุณอาจต้องทำสิ่งนี้ ผมย่อยประเด็นที่ควรบรรจุอยู่ในหัวของบทความมีดังนี้ครับ
- 2.1 ชื่อเรื่อง
- 2.2 ชื่อของบทความ
- 2.3 จำนวนคำไทยรวม
- 2.4 จำนวน % ความหนาแน่นของ Keyword
- 2.5 คำรับรองในการตรวจบทความของคุณ